Dream
- Tan Piyatida
- Dec 17, 2019
- 1 min read
Updated: Dec 20, 2019
เรื่องความฝันซับซ้อนกว่าที่คิด
แท้จริงแล้วความฝันมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก ซีคมุนท์ ฟร็อยท์ นายแพทย์ด้านประสาทวิทยาชาวออสเตรีย ผู้ได้รับฉายาว่าเป็นบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ซึ่งศึกษาการทำงานของระบบประสาทและความคิดของมนุษย์เพื่อประโยชน์ทางด้านการแพทย์และด้านอื่นๆ โดยฟร็อยด์มองว่า ‘ความฝันคือ การแสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกและแรงปรารถนาบางอย่างที่ถูกกดทับและเก็บซ่อนเอาไว้ข้างในจิตใจลึกๆ ของผู้คน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะผูกโยงอยู่กับเรื่องทางเพศเป็นหลัก’
เช่น เราอาจจะเคยฝันถึงหญิงสาวหรือชายหนุ่มในอุดมคติที่อยากจะมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งด้วย แต่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในโลกของความเป็นจริง เพราะอาจมีข้อจำกัดในเรื่องต่างๆ อยู่ หรือแม้แต่ฝันว่าได้กินไส้กรอกหรือหอยนางรมตัวใหญ่ๆ ก็อาจจะสะท้อนแรงขับทางเพศที่ถูกกดทับไว้ได้เช่นกัน
คาร์ล ยุง จิตแพทย์และนักจิตบำบัดชาวสวิตเซอร์แลนด์ ผู้เสนอแนวคิดต่างๆมากมายที่มีอิทธิพลต่อองค์ความรู้ในสาขาวิชาจิตเวชศาสตร์คนสำคัญของโลกมองว่า ‘ความฝันคือ พลังงานที่มีรูปร่างแบบหนึ่งที่เกี่ยวพันกับจิตใต้สำนึก บ่อยครั้งที่ความฝันของคนเราคือภาพสะท้อนของสิ่งต่างๆ ที่เราพบเห็นและรู้สึกนึกคิดในแต่ละวัน เป็นช่วงเวลาหนึ่งที่สมองจะมีการประมวลผลและขบคิดถึงสิ่งต่างๆ’

ชาวโรมันโบราณ เชื่อว่า ความฝันคือ สารจากพระเจ้า
ชาวอียิปต์โบราณ เชื่อว่า ผู้ที่จดจำความฝันได้คือ ผู้มีพลังวิเศษ
ชาวจีนโบราญ เชื่อว่า มันเป็นหนทางในการติดต่อกับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว
ชาวแม็กซิกันที่เจริญแล้ว เชื่อว่า ความฝันคือ โลกคู่ขนานที่พยายามเชื่อมต่อกับเรา
จากความเชื่อทั้งหมดนี้ อาจดูคล้ายกับเรื่องของไสย์ศาสตร์มากเกินไป ซึ่งหาข้อพิสูจน์ไม่ได้ จึงทำให้ 2 นักวิทยาศาสตร์ผู้โด่งดัง ได้ตั้งแนวคิดเชิงจิตวิทยาต่างๆเกี่ยวกับความฝันขึ้นมา เพื่อหาคำตอบและอธิบายที่มาที่ไปของความฝันในรูปแบบต่างๆที่เกิดขึ้นกับมนุษย์
ซีคมุนท์ ฟร็อยท์ (Sigmund Freud)
นักจิตวิทยาชาวออสเตรียคนนี้ได้กว่าถึง "ความฝัน" ว่า อาจเกี่ยวข้องกับประสบการ์ที่ผ่านมา หรือสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่ความฝันคือ แรงปราถนา ความทุกข์ร้อน การวิตกกังวล ความกลัว ที่ถูกเก็บกดอยู่ในจิตไร้สำนึก หรือความพยายามแก้ไขปัญหาที่ยังไม่สำเร็จในตอนกลางวัน จึงเกิดเป็นความไม่สบายใขในขณะที่เรากำลังหลับ เพราะต้องการระบายความรู้สึกวิตกกังวลออกมา
เอียน วอลเลซ (Ian Wallace)
นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านจิตใต้สำนึก ที่ได้ทำการศึกษาความฝันมานานกว่า 30 ปี จากกลุ่มตัวอย่าง 150,000 คน โดยเขาได้ให้เหตุผลเกี่ยวกับความฝันสั้นๆ ว่า ความฝันนั้นสามารถบ่งบอกถึงความรู้สึกลึกๆของมนุษย์ได้จริง แม้คนเราจะฝันแตกต่างกันร้อยแปด แต่ทุกๆ ความฝันจะมีรูปแบบพื้นฐานที่คอยกำหนดลักษณะของความฝันนั้นๆ อยู่
อ้างอิง
1. ความฝันของเราคืออะไรกันแน่ ทำไมเรามักฝันบ่อยๆ, ณรงค์กร มโนจันทร์เพ็ญ, Public on 18 September 2017, https://thestandard.co/whatisourdream/
2. จิตวิทยาของ “ความฝัน” จริงๆแล้วมันคืออะไร และมีอิทธิพลต่อเราอย่างไรบ้าง ?, ManoshFiz, Public on 3 September 2018, https://www.flagfrog.com/dream-psychologist/
Comentarios