top of page
  • Writer's pictureTan Piyatida

Fantasy in Music

เริ่มจากในสมัยยุคเรเนซองส์ ไอเดียของเครื่องดนตรีที่จะเล่นในลักษณะที่ Form "การสร้างสรรค์เริ่มต้นมาจากการจอนตนาการ และก็ทักษะของผู้เขียนที่สร้างมันได้ (Luis de Milan, 1535-6 กล่าวไว้)"


ในปี 1700 "Fantasy" คือ จินตนาการ หรือ ผลของจินตนาการ ถูกใช้ในการเล่นแบบ German Keyboard


ก่อนปี 1520 ในเยอรมัน วานเลนเซีย มิลาน นูเรมเบิร์ก ลีออง (ฝรั่งเศส)

ไอเดียเริ่มจาก Musical "idea" พูดถึงการสร้างรูปแบบขึ้นมาใหม่มากกว่าไปยืมอย่างอื่นมาประติดประต่อกัน วิธีการแบบนี้ถูกใช้เยอะมากในช่วงศตวรรษที่ 16 และเขียนให้สำหรับเครื่องดนตรี Lute และก็ลามไปถึงเยอรมัน เนอเธอร์แลนด์ ที่เริ่มใช้ลักษณะเหมือนเล่นเปิดขึ้นมาก่อนที่เพลงจริงๆ จะเริ่มขึ้น

Fantasy จะเป็นเหมือนลักษณธแบบฝึกหัดมาก่อนที่จะเริ่มเพลง (เหมือนเป็นการวอร์มก่อนเริ่มเพลง)

Idea --> เล่นอะไรก็ได้ที่อยู่ในจินตนาการของผู้เล่นขณะนั้น

--> บางทีก็ใช้รูปแบบการร้องไปด้วยเล่นไปด้วย (Sing and play)


ช่วงหลังของศตวรรษที่ 16 ในอิตาลี "Fantasia (Fantasy)" กลายเป็นการแสดงออกถึง Skill การเขียนเสียงประสาน เริ่มมี Figure ใส่เข้าไปในบทเพลง วิธีการดูจากโน้ตตัวเดียวกัน กลายมาเป็นแนวทำนองที่ซับซ้อนขึ้นได้อย่างไร ลักษณะ Rythmic จะเปลี่ยน theme อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบยุโรป นักดนตรีออแกนจะเริ่มใช้วิธีการนี้


- ในอังกฤษ เริ่มแปลว่า "to see what may be done upon a point" (ดูว่าสามารถทำอะไรได้บ้างกับสิ่งที่มีอยู่) เช่น มีทำนอง 1 ทำนอง เราสามารถดัดแปลงอะไรจากทำนองนั้นได้บ้าง


- ในมิลาน ประเทศอิตาลี พูดถึง Lute book หลายๆ อันที่มีทำนอง (Single Subject) นำมาหดมันให้สั้นลง หรือกลับหัวตัวโน้ตใหม่ หรือทำออกมาในลัษณะต่างๆ ให้กับเครื่องดนตรีอื่นๆ ด้วย


Fantasy ก็เริ่มเข้าไปมีบทบาทใน Ensemble สำหรับผู้เล่น beginner จะมีอยู่ 3-4 part (แนวหนึ่งเขียนไว้สำหรับการร้อง และอีกแนวเขียนไว้สำหรับเครื่องดนตรบรรเลง)


- ในสเปนก็มีการเล่น Ensemble เหมือนกัน และจะอยู่ในรูปแบบของการ improvise บนเครื่องดนตรี Viol และ Harpsichord


- ในฝรั่งเศส --> Luis Couperin เริ่มทำ Organ Fantasy บางเพลงเป็นเพลงของ Keyboard แล้วเอา melody ของดำเพลงสวดหรือเพลง popular มาทำให้มีหลายแนว


- ในเนเธอร์แลนด์ เป็นจุดที่สำคัญที่ทดลองไอเดียหลายๆ อย่างเกี่ยวกับคำว่า Fantasy เริ่มมีการ improvise มากขึ้น

---> Fantasy สำหรับ Keyboard เป็นที่นิยมมาก (Fantasy Chromatica)

---> ได้เพิ่มเสียงประสานใน Fugue มากขึ้น


- ในเยอรมัน ก็มีความคล้ายกับเนเธอร์แลนด์ เริ่มมีเสียงประสานแนวที่ 2-3 เพิ่มเข้าไปด้วย และมีเสียงประสานประสานกัน 3-4 แนว ซับซ้อนมากขึ้นจากเมื่อก่อน ที่เป็นแค่แนวเดียวซ้ำไปซ้ำมา


- ในโปแลนด์ ก็เป็นแนว polyphonic ก็เป็นทำนองหลายๆ แนวซ้อนๆ กัน


- ในอังกฤษ มี John Dowland เป็น Composer สำคัญ

--> ในเครรื่องดนตรี Keyboard ก็เริ่มเอา Dace Section เข้ามาเริ่มมี 5 part

--> Fantasy เริ่มแบ่งเป็นท่อนๆ มากขึ้น หรือเป็นเพลงชุดมากขึ้น


ใน ศต. 18 มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดนิดหน่อย

- เริ่มพูดถึงการมีอิสระจากจังหวะ

- ไม่มี bar line

- มีความเป็น Virtuoso ที่เขียนให้มีความยากมากขึ้น

- มี Harmony และการเปลี่ยน Key ไปเรื่อยๆ

- เริ่มมี Form ที่ชัดเจนมากขึ้น จะเป็น Dance, Prelude, Toccata

ผู้คนก็ไม่ค่อยได้ใช้รูปแบบ Fantasy มากเท่าไหร่แล้ว เนื่องจากในตอนนั้นก็เริ่มมี Sonata และ symphonia


**Fantasie จึงกลายเป็นเพลงประเภทนึงที่มีรูปแบบเป็นตัวของมันเองแล้ว ไม่ได้เป็นแค่รูปแบบสำหรับฝึกหัดแล้ว**


J.S. Bach --> เขียนให้ออกมาเป็น Fugue แล้วแต่ง Fantasie อย่างซับซ้อน มีการไล่ Scale, Chromatic, Arpeggios แต่ก็มี Form ที่ชัดเจนมากขึ้น

C.P.E. Bach --> เริ่มสนใจในลักษณะของ Improvisation มีการเปลี่ยน Key ที่มหาศาล เพื่อเปลี่ยนสีสันของเพลง ไม่ค่อยได่ใส่ bar line เข้าไปในบทเพลง จึงทำให้เพลงมีอิสระในจังหวะมาก

Mozart จะให้เริ่มเล่น Fantasie ก่อนที่จะเล่น Sonata และ Prelude


ในศต. 19-20 คนที่ดังในเรื่องการแต่ง Fantasie คือ Beethoven

Beethoven ทั้งรักษาและก็พังกฏเกณฑ์เดิมๆ ด้วย

--> เริ่มใช้ Fantasie ในช่วงรอยต่อระหว่าง movement หรือเอามาใช้ต้น Sonata Allegro movement หรือเป็นเซตของ Fugue หลายๆ อัน เพื่อเอาไว้ใช้เป็นส่วนขยายของอารมณ์เพลง

--> เริ่มมี theme ที่ชัดเจน หรือเป็น Virtuoso เต็มที่


จนกระทั่ง Schumann เรียก Fantasie ในยุคนี้ใหม่ว่า "Fantasie stuck" คือ เริ่มเป็นบทเพลงใหม่ที่มีคำว่า Fantasie อยู่ด้วย เป็นเหมือนเพลงชุด (Song Cycle) มีหลายๆ เพลงเข้ามารวมอยูในบทเพลงเดียว หรือนำเอา Theme ของเพลง Folk song หรือเพลง Opera ดังๆ ในยุคนั้นมาทำใหม่ให้เป็น Fantasie




 

อ้างอิง

1. Fantasie, The New Grove Dictionary of Music and musician, Stanley Sadie, second edition, p.545-557.

0 comments

Recent Posts

See All

Dream

bottom of page